บทความ

  พระบรมราโชวาท และส.ค.ส. พระราชทาน : ธ ผู้ทรงชี้แนะแนวทาง ปวงราษฎร์ร่มเย็น                                                                                           พรรณษา   พลอยงาม 1   บทนำ           ในช่วงเดือนกันยายนนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยากำลังเข้าสู่พิธีพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับ ผู้สำเร็จการศึกษา ทำให้ผู้เขียนหวนนึกถึงพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งล้วนมีแง่คิดคำสอนให้บุคคลเห็นความสำคัญของการศึกษา เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน นำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอด พัฒนา เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง สังคมและประเทศชาติบ้านเมืองต่อไป อีกทั้งไม่กี่เดือนข้างหน้ากำลังจะย่างก้าวเข้าสู่เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ยิ่งทำให้ผู้เขียนนึกถึงการส่งมอบความสุขให้แก่กันเพื่อเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ในปีใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น นอกจากนี้พวกเราชาวไทยยังได้รับความรัก ความปรารถนาดี และข้อคิดที่ดีมีสาระจากพระมหากษัตริย์ไทย ด้วยการพระราชทานพรปีใหม่ผ่านพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส และบัตรส่งความสุข หรือที่เรียกว่า ส.ค.ส. พระราชทาน จากในหลวงรัชกาลที่ 9
  คติธรรมในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก                                                                                            พรรณษา   พลอยงาม 1 บทนำ พระมหาชนกเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่คนไทยรู้จักอย่างแพร่หลาย โดยพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก มีต้นเรื่องมาจากอรรถกถามหาชนกชาดกในพระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย  ทรงดัดแปลงเนื้อหาบางส่วนแตกต่างออกไปเพื่อให้อ่านง่ายและสื่อถึงพระราชดำริที่ต้องการแฝงคติธรรมในการปลูกฝังศีลธรรมให้พสกนิกรของพระองค์ อีกทั้งการสร้างขวัญและให้กำลังใจปวงชนชาวไทย โดยได้ทรงพระราชทานพรดังที่ปรากฏในหนังสือพระมหาชนก ดังคำกล่าวที่ว่า “ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม และกำลังกายที่สมบูรณ์” จากพระราชปรารภที่กล่าวข้างต้น หมายถึง ขอเพียงคนเราอย่าทิ้งความเพียร ใช้ปัญญา และทุ่มเทแรงกายแรงใจด้วยความบริสุทธิ์ หากเราปฏิบัติได้เช่นนี้ จะทำให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ 1.ความเป็นมาพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก              เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จ พระมหาวีรวงศ์ ( วิน ธมฺม
  คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย                                                                                            พรรณษา   พลอยงาม 1 บทนำ           ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน (Indo – European) มีวิภัตติปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งต่างจากภาษาไทยที่เป็นภาษาคำโดด ( Isolating Language ) คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงประเภททางไวยากรณ์ ( Grammatical Categories) ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้สื่อสารกันระหว่างประเทศมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาที่สอง โดยสาเหตุที่ภาษาอังกฤษเข้ามาปะปนในภาษาไทยนั้นเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งทางด้านวัฒนธรรม การศึกษา การรับวิทยาการที่ทันสมัย หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ มาจากประเทศตะวันตก จึงทำให้เกิดการยืมภาษาและมีคำยืมภาษาอังกฤษปะปนอยู่ในภาษาไทย             1.ลักษณะภาษาอังกฤษเปรียบเทียบกับภาษาไทย ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน (Indo – European)   ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากภาษาละติน มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ หรือเติมท้ายศัพท์ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์ เช่น เพศ พจน์ กาล การก ฯลฯ (จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ : 2556, 2