คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย

                                                                                          พรรณษา  พลอยงาม1

บทนำ

          ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน (Indo – European) มีวิภัตติปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งต่างจากภาษาไทยที่เป็นภาษาคำโดด (Isolating Language) คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงประเภททางไวยากรณ์ (Grammatical Categories) ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้สื่อสารกันระหว่างประเทศมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาที่สอง โดยสาเหตุที่ภาษาอังกฤษเข้ามาปะปนในภาษาไทยนั้นเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งทางด้านวัฒนธรรม การศึกษา การรับวิทยาการที่ทันสมัย หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ มาจากประเทศตะวันตก จึงทำให้เกิดการยืมภาษาและมีคำยืมภาษาอังกฤษปะปนอยู่ในภาษาไทย

 

          1.ลักษณะภาษาอังกฤษเปรียบเทียบกับภาษาไทย

ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน (Indo – European)  ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากภาษาละติน มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ หรือเติมท้ายศัพท์ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์ เช่น เพศ พจน์ กาล การก ฯลฯ (จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ : 2556, 234) ซึ่งผู้เขียนได้สรุปลักษณะของภาษาอังกฤษกับภาษาไทยในประเด็นที่สำคัญไว้ ดังนี้

1.1   ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย

ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย คำในภาษาอังกฤษสามารถเปลี่ยนรูปด้วยการเติม

หน่วยผันคำ  (Inflectional  Morpheme)  หรือเปลี่ยนเสียงสระในคำเพื่อแสดงพจน์ กาล มาลา  วาจก  และบุรุษ ส่วนภาษาไทยเป็นคำพยางค์เดียว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อเรียงคำเข้าประโยค

1.1.1         เมื่อคำนามเป็นพหูพจน์ ภาษาอังกฤษต้องเติม s หรือ es หรือเปลี่ยนรูปคำ

ส่วนในภาษาไทยไม่แสดงเอกพจน์หรือพหูพจน์ที่เป็นคำนาม แต่จะใช้จำนวนนับหรือคำบอกปริมาณ แสดงความเป็นพหูพจน์ของคำนามนั้น เช่น

ภาษาอังกฤษ

ภาษาไทย

เอกพจน์

พหูพจน์

เอกพจน์

พหูพจน์

Bird

Birds

นก 1 ตัว

นก 2 ตัว

Mango

Mangoes

มะม่วง 1 ลูก/ผล

มะม่วงหลายลูก/ผล

Man

Men

ผู้ชาย 1 คน

ผู้ชายหลายคน


        ตารางที่ 1.1 แสดงลักษณะของภาษาอังกฤษที่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อบอกพจน์เปรียบเทียบกับภาษาไทย

      

                               1.1.2  เมื่อเป็นอดีตกาล  คำกริยาภาษาอังกฤษต้องเติม ed  ท้ายคำกริยาหรือเปลี่ยนรูปคำ ส่วนภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกกาลเหมือนในภาษาอังกฤษ  เช่น


ภาษาอังกฤษ

ภาษาไทย

Today, I eat rice. (Present)

วันนี้ฉันกินข้าว (ปัจจุบัน)

Yesterday, I ate rice. (Past)

เมื่อวานฉันกินข้าว (อดีต)

ตารางที่ 1.2 แสดงลักษณะของภาษาอังกฤษที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกกาลเปรียบเทียบกับภาษาไทย

               1.2 ภาษาอังกฤษไม่มีเสียงวรรณยุกต์                                                                       

               ภาษาอังกฤษมีเสียงสูงต่ำ แต่เสียงสูงต่ำในภาษาอังกฤษไม่ได้ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนอย่างเช่นเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย  ภาษาอังกฤษเรียกเสียงสูงต่ำดังกล่าวว่า ทำนองเสียง (Intonation)  ใช้ในการบอกความหมายของประโยค เช่น การลงเสียงต่ำท้ายประโยคเพื่อแสดงว่าเป็นประโยคบอกเล่า การขึ้นเสียงสูงท้ายประโยคแสดงว่าเป็นประโยคคำถาม

    1.3 การเรียงลำดับคำในประโยคภาษาอังกฤษเหมือนในประโยคภาษาไทย

              การเรียงลำดับคำในประโยคภาษาอังกฤษเหมือนกับในประโยคภาษาไทย คือ SV ประธาน กริยา หรือแบบ SVO ประธาน กริยา กรรม เช่น

ภาษา

ประธาน (S)

กริยา (V)

กรรม (O)

ภาษาอังกฤษ

He

works

-

ภาษาไทย

เขา

ทำงาน

-

ภาษาอังกฤษ

I

like

cats

ภาษาไทย

ฉัน

ชอบ

แมว

ตารางที่ 1.3 แสดงลักษณะการเรียงลำดับคำในประโยคภาษาอังกฤษเปรียบเทียบกับประโยคภาษาไทย


2. วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในภาษาไทย

    วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในภาษาไทย มี 3 ลักษณะ คือ การทับศัพท์ การแปลศัพท์ และ

การบัญญัติศัพท์  (ประยูร ทรงศิลป์, 2526 : 192) สรุปได้ดังนี้

2.1   การทับศัพท์ โดยการถ่ายเสียงและถอดตัวอักษรด้วยอักษรภาษา

ไทย โดยปรากฏคำยืภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์เป็นจำนวนมาก เช่น

คำภาษาอังกฤษ

คำทับศัพท์

note

โน้ต

shirt

เชิ้ต

computer

คอมพิวเตอร์

ตารางที่ 1.4 แสดงคำยืมภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์

                2.2 การแปลศัพท์  เป็นวิธีการแปลความหมายของคำศัพท์เดิมที่มีอยู่เดิมในภาษา โดยการแปลแบบคำต่อคำ เกิดเป็นคำประสมในภาษาไทย เช่น

คำภาษาอังกฤษ

คำที่มาจากการแปลศัพท์

short story

เรื่องสั้น

war ship

เรือรบ

black board

กระดานดำ

ตารางที่ 1.5 แสดงคำยืมภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์

                2.3 การบัญญัติศัพท์ เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาแล้วสร้างคำ

ขึ้นใหม่ โดยเฉพาะศัพท์วิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก โดยผู้ที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ภาษาไทยแทนคำภาษาอังกฤษ คือ ราชบัณฑิตยสภา เช่น

คำภาษาอังกฤษ

คำที่มาจากการบัญญัติศัพท์

telephone

โทรศัพท์

television

โทรทัศน์

globalization

โลกาภิวัตน์

ตารางที่ 1.6 แสดงคำยืมภาษาอังกฤษโดยวิธีการบัญญัติศัพท์

หมายเหตุ คำศัพท์ และที่มาของคำศัพท์ ประมวลมาจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554


 3. ลักษณะคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย

 คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมีหลายลักษณะ ดังที่ อรรถวิทย์ รอดเจริญ (2566 : 215-218) และมัลลิกา มาภา (87-90 : 2559) ได้กล่าวถึงลักษณะของคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยไว้  เช่น เป็นคำหลายพยางค์ คำยืมภาษาอังกฤษใช้เสียงพยัญชนะที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย และตัดเสียงพยัญชนะท้ายประสมในตำแหน่งที่ 1 ซึ่งผู้เขียนสรุปประเด็นสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นได้ ดังนี้

           3.1 เป็นคำหลายพยางค์ เมื่อไทยยืมมาใช้ทำให้คำไทยมีคำหลายพยางค์มากขึ้น เช่น แอปพลิเคชัน (application)  สมาร์ตโฟน (smartphone)  อินเทอร์เน็ต (internet) ฯลฯ

            3.2 คำยืมภาษาอังกฤษใช้เสียงพยัญชนะที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย โดยคำยืมภาษาอังกฤษที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย จะผ่านการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ มีการเพิ่มพยัญชนะควบกล้ำ โดยเสียงพยัญชนะควบกล้ำไทยมี  11 เสียง ได้แก่ /kr-// kl-/ /kw-/ /khr-/ /khl-/ /khw-/ /phr-/ /phl-/ /pr-/ /pl-/ /tr-/ เมื่อไทยยืมคำภาษาอังกฤษที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย ทำให้มีพยัญชนะควบกล้ำเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น

เสียงพยัญชนะควบกล้ำ

คำภาษาอังกฤษ

คำยืม

/br-/

Brake

บร

/dr-/

Draft

ดราฟต์

/fl-/

Fluorine

ฟลูออรีน

ตารางที่ 1.7 แสดงการเพิ่มเสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ปรากฏในคำยืมคำภาษาอังกฤษ

    ในส่วนพยัญชนะท้ายในภาษาไทยมี 9 เสียง ได้แก่ /-k/ /-t/ /-p/ /-ŋ/ /-n/ /-m/ /-j/ /-w/ /-ʔ / ซึ่งในภาษาไทยมีรูปสะกด 8 มาตรา ได้แก่ แม่กก  แม่กด แม่กบ แม่กง  แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว เมื่อไทยยืมคำภาษาอังกฤษที่ไม่มีพยัญชนะท้ายในภาษาไทย ทำให้ภาษาไทยมีหน่วยเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น

เสียงพยัญชนะท้าย

คำภาษาอังกฤษ

คำยืม

/-f/ 

Proof

ปรู๊

/-l/

Email

อีเม

/-s/

Gas

แก๊

ตารางที่ 1.8 แสดงการเพิ่มเสียงพยัญชนะท้ายที่ปรากฏในคำยืมคำภาษาอังกฤษ

               3.3 ตัดเสียงพยัญชนะท้ายประสมในตำแหน่งที่  1  โดยในภาษาไทยไม่มีการออกเสียงพยัญชนะประสมในตำแหน่งท้ายพยางค์ แต่พยางค์ในภาษาอังกฤษมีลักษณะดังกล่าว ภาษาไทยยืมคำภาษาอังกฤษมา จึงปรับเสียงพยัญชนะท้ายประสมของภาษาอังกฤษให้เข้ากับระบบเสียงภาษาไทย โดยตัดเสียงพยัญชนะท้ายประสมในตำแหน่งที่ 1 ออก และใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับบนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง จึงทำให้คำยืมภาษาอังกฤษมีเครื่องหมายทัณฑฆาตอยู่กลางพยางค์ ตัวอย่างเช่น

คำภาษาอังกฤษ

คำยืม

Farm

ฟาร์

Card

การ์

Golf

กอล์

ตารางที่ 1.9 แสดงการตัดเสียงพยัญชนะท้ายในตำแหน่งที่ 1 ที่ปรากฏในคำยืมคำภาษาอังกฤษ


ข้อสังเกต คำว่า  กอล์ฟ มีการปรับเสียงพยัญชนะท้ายให้เข้ากับระบบเสียงภาษาไทย คือ  /-p/ ได้แก่ แม่กบ คือ อ่านว่า ก๊อบ 

สรุป

ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน (Indo – European) มีวิภัตติปัจจัยเช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาอังกฤษไม่มีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกับภาษาไทย แต่ภาษาอังกฤษมีการเน้นเสียงที่คำ ในส่วนการเรียงลำดับคำในประโยคภาษาอังกฤษเหมือนในประโยคภาษาไทย คือ SV หรือ SVO วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ในภาษาไทย มี 3 ลักษณะ คือ การทับศัพท์ การแปลศัพท์ และการบัญญัติศัพท์ โดยคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยพบวิธีการทับศัพท์เป็นจำนวนมาก ในส่วนลักษณะของคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยมีหลายลักษณะ เช่น เป็นคำหลายพยางค์ คำยืมภาษาอังกฤษใช้เสียงพยัญชนะที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย และตัดเสียงพยัญชนะท้ายประสมในตำแหน่งที่ 1 โดยสาเหตุที่ภาษาอังกฤษเข้ามาปะปนในภาษาไทยนั้นเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งทางด้านวัฒนธรรม การศึกษา เทคโนโลยีต่าง ๆ วิทยาการสมัยใหม่ที่มาจากประเทศตะวันตก จึงทำให้เกิดการยืมภาษาและมีคำยืมภาษาอังกฤษปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ปรากฏคำยืมภาษาอังกฤษที่ไทยนำมาใช้ในวงการต่าง ๆ เช่น คำศัพท์ในวงการกีฬา เช่น ฟุตบอล        (อ.Football) เทนนิส (อ.Tennis) ยิมนาสติก (อ. Gymnastic) คำศัพท์ในวงการแพทย์ เช่น วัคซีน (อ. Vaccine) ไวรัส (อ. Virus) คลินิก (อ. Clinic) คำศัพท์ในวงการวิทยาศาสตร์ เช่น ออกซิเจน (อ. Oxygen) โปรตีน (อ. Protein) เซลล์ (อ. Cell) คำศัพท์เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม เช่น เค้ก (Cake) คุกกี้ (Cookie) ไวน์ (Wine) เป็นต้น จึงสะท้อนให้เห็นได้ว่าภาษาอังกฤษมีอิทธิพลในภาษาไทยเป็นอย่างยิ่ง                                 

 เอกสารอ้างอิง

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ประยูร ทรงศิลป์. (2526). การเปลี่ยนแปลงของภาษา : คำยืมในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูธนบุรี.

มัลลิกา มาภา. (2559). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

อรรถวิทย์ รอดเจริญ. (2566). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้